Diversity and Inclusion in the Workplace
หลักสูตร ความหลากหลายและการมีส่วนร่วมในที่ทำงาน

          ในปัจจุบัน ความหลากหลายและการมีส่วนร่วม (Diversity and Inclusion) เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นในองค์กรทั่วโลก และได้กลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญให้องค์กรสามารถนำความหลากหลายและการมีส่วนร่วม มาปรับใช้ ยกระดับความสร้างสรรค์และมุมมองที่เปิดกว้างให้กับองค์กร ในขณะที่ ภายในจิตใจของมนุษย์นั้นมีอคติในการเหมารวม (Stereotype) อยู่โดยไม่ตั้งใจ อคติเช่นนี้เกิดจากความรู้สึกชอบคนที่มีความคล้ายกันกับเรา (Similarity) เช่น การมีภูมิลำเนา เชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ หรือความเชื่อทางการเมืองเหมือนกัน เป็นต้น ในอีกด้านหนึ่งจึงทำให้เราเกลียดหรือเหยียดกลุ่มคนที่ไม่เหมือนกันโดยไม่ทันรู้ตัว เวลาที่เราเห็นใครมีบุคลิกภาพบางอย่างที่ไม่ถูกใจ เราจะคิดเชื่อมโยงไปว่านั่นเป็นเพราะปูมหลังทางวัฒนธรรมของเขา ในขณะที่ เวลาเราทำอะไรผิดพลาด เรามักไม่ได้คิดเชื่อมโยงกับปูมหลังทางวัฒนธรรมของเรา สิ่งเหล่านี้ คือ อคติ ที่เกิดจากการแบ่งแยก (Discrimination)

          หลักสูตรนี้ จะนำเสนอเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ ที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ เกิดการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) เห็นถึงธรรมชาติของอคติที่มีอยู่ภายในจิตใจ เกิดการยอมรับ (Acceptance) เห็นถึงความจำเป็น และร่วมกันฝึกฝนทักษะ ให้เกิดความชำนาญในการเปิดรับความหลากหลายและการมีส่วนร่วมในที่ทำงาน (Diversity and Inclusion in the Workplace)

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

  • สร้างการตระหนักรู้และการยอมรับในบุคลิกภาพของตนเองและผู้อื่นที่แตกต่างกัน
  • สร้างความเข้าใจในความหลากหลายและการมีส่วนร่วม (Diversity and Inclusion)
  • ฝึกฝนทักษะการบริหารจัดการตนเองให้เกิดการเปิดรับและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

เนื้อหาที่จะได้เรียนรู้และทักษะที่จะได้ฝึกฝน

  • การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness)
    • การเชื่อมความสัมพันธ์ (Similarity)
    • การเท่าทันคคติ (Fundamental Attribution Error)
    • ความรู้สึกและความคิด (Feeling and Thinking)
    • กิจกรรมหลัก: ความรู้สึก
  • ความหลากหลาย (Diversity)
    • ความหลากหลายในที่ทำงาน (Workforce Diversity)
    • คุณค่ากับการทำงาน (Value Congruent-Actions)
    • พัฒนาการจิตรับรู้ (States of Consciousness)
    • กิจกรรมหลัก: จุดยืด
  • การสื่อสาร (Communication)
    • กุญแจของการฟัง (Listening Key)
    • การสังเกตและการตีความ (Observation/Interpretation)
    • การฟังแบบเปิดรับ (Outward Listening)
    • กิจกรรมหลัก: การเปิดรับ
  • การมีส่วนร่วม (Inclusion)
    • การสร้างความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety)
    • เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วม (Brainstorming)
    • การสนทนาอย่างมีส่วนร่วม (Generative Dialogue)
    • กิจกรรมหลัก: การขอความคิดเห็น

หลักสูตร โดย อาจารย์ ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร

งานเขียนที่เกี่ยวข้อง

บริการให้คำปรึกษา การจัดฝึกอบรม
ออกแบบหลักสูตร ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
โทร 084-055-0555

เพิ่มเพื่อน
LINE ID = @delighten (24 hrs)