ประโยคที่ลูกค้าโกรธจัด ฟังแล้วจี๊ด..

หลายคนคงได้ยินข่าว พนักงานสายการบินถูกผู้โดยสารชายตำหนิเสียงดัง จากเหตุการณ์เที่ยวบินดีเลย์ 5 ชั่วโมงกันบ้างแล้ว จากในคลิป พนักงานพยายามบอกให้ผู้โดยสารใจเย็น ๆ แต่ดูเหมือนผู้โดยสารยิ่งโกรธกว่าเดิม.จากประสบการณ์ที่ปุ๊เคยทำงานบริการในสายการบิน และได้เจอกับหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ผู้โดยสารโกรธจัด และเชื่อว่าผู้ให้บริการในทุก ๆ ธุรกิจก็คงได้พบเจอเช่นกัน ซึ่งทุกท่านเข้าใจกันดีว่า หน้าที่ของผู้ให้บริการ ณ ขณะนั้น คือการทำให้ลูกค้าใจเย็นลง แต่พอบอกว่าให้ใจเย็น ๆ นะคะ ลูกค้ากลับโกรธยิ่งกว่าเดิม เอ๊ะ! เพราะอะไรกันนะ.วันนี้ปุ๊เลยจะมาเสนอตัวอย่าง “ประโยคต้องห้าม ที่ทำให้ลูกค้าโกรธจัด ฟังแล้วจี๊ด” ขึ้นไปอีก.🚫 ใจเย็น ๆ ก่อนนะคะเมื่อลูกค้าโกรธจัดเราก็อยากให้ลูกค้าใจเย็นลง ค่อยพูดค่อยจา แต่การที่เราพูดว่า “ใจเย็น ๆ ก่อนนะคะ” ยิ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกโกรธมากขึ้น เพราะลูกค้ามองว่าเราเพิกเฉยต่อความรู้สึกของเขา ไม่รับรู้ความเดือดร้อนของเขา และเรากำลังกล่าวหาว่าเขาใจร้อน.🚫 ดิฉันได้แจ้งไปแล้วไงคะว่า…ประโยคนี้ถึงจะเป็นความจริง แต่ฟังดูแล้วเหมือนกำลังต่อว่าลูกค้า ว่าเป็นความผิดของลูกค้าเองที่ไม่ตั้งใจฟังข้อมูลต่างที่ได้แจ้งไว้แล้ว.🚫 เรื่องนี้เป็นความผิดของแผนก…ประโยคนี้ลูกค้าฟังแล้วจี๊ด เพราะลูกค้าเข้าใจว่าเรากำลังปัดความรับผิดชอบ ซึ่งจริง ๆ แล้วลูกค้ามองว่าทุกคนคือส่วนหนึ่งขององค์กรที่ร่วมรับผิดชอบ และช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น.🚫 ตามนโยบายของบริษัท…ประโยคนี้ถึงจะเป็นนโยบายขององค์กรจริง ๆ แต่ลูกค้าไม่ต้องการรับรู้ เพราะฟังดูแล้วรู้สึกเหมือนการอ้างตัวบทกฎหมาย […]

ขอโทษอย่างไรให้ลูกค้าหายโกรธ

ขอโทษอย่างไร ให้ลูกค้าหายโกรธ สมัยที่ปุ๊ทำงานบนเครื่องบิน ครั้งหนึ่งในระหว่างไฟล์ต ผู้โดยสารท่าหนึ่งขอเครื่องดื่ม เราก็กำลังจะไปเอามาเสิร์ฟจากในครัว พอเข้าไปที่ครัวก็มีงานอย่างอื่นที่ต้องทำ ก็เลยลืมเครื่องดื่มที่ขอไว้จนเดินผ่านผู้โดยสารอีกครั้ง แล้วท่านก็เอ่ยขออีกครั้ง ความจำก็ปิ๊งขึ้นมาทันใด เลยกล่าวขอโทษทันที และรีบไปนำเครื่องดื่มมาให้ โชคดีที่ผู้โดยสารไม่โกรธ แถมยังบอกว่าไม่เป็นไร บางครั้งผู้ให้บริการอย่างเราก็อาจจะทำอะไรผิดพลาด หรือหลงลืมรายละเอียดบางอย่างไปบ้างในการทำงาน แต่เคยเป็นมั้ยคะ..ที่บางครั้งที่เรากล่าวขอโทษแล้ว ลูกค้าก็ยังไม่พอใจอยู่ดี วันนี้ปุ๊ก็มีแนวทางการขอโทษอย่างไร ให้ลูกค้าหายโกรธ และรู้สึกดีขึ้นจากสถานการณ์นั้น ๆ มาฝากกันค่ะ Feel sorry : เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ผู้ให้บริการควรรู้สึกว่าเราตั้งใจขอโทษจริง ๆ ไม่ใช่ทำเพื่อให้เรื่องจบแต่เรามีความรู้สึกผิดด้วยใจจริง น้ำเสียง สีหน้า ท่าทางของเราจะสื่อออกมาให้ลูกค้ารับทราบได้ดี Empathize : เข้าใจความรู้สึกของลูกค้าว่าได้รับความไม่สะดวกสบายอย่างไร หรือเกิดผลกระทบอะไรขึ้นบ้างจากความผิดพลาดของสินค้าและบริการของเรา Accept : ยอมรับว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น ว่าเรามีส่วนผิด หรือแม่แต่แผนกของเรา ฝ่ายเรา หรือองค์กรของเรา ที่มีส่วนทำให้ลูกค้าไม่สะดวกสบาย เราก็ยินดีขอโทษได้ Take action : ดำเนินการแก้ไขได้ ตามที่ทำได้และอาจจะเรียนแจ้งลูกค้าถึงแนวทางป้องกันในอนาคตที่เราจะสามารถทำได้ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจที่จะกลับมาใช้บริการกับเราอีก ในครั้งต่อไป การขอโทษที่อาจจะไม่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกดีขึ้น ขอโทษโดยที่ไม่ได้รู้สึกผิดจริง […]