คนทำงานในยุคนี้คงคุ้นเคยกับคำว่า Burnout หรือหมดไฟในการทำงาน ซึ่งในปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าภาวะนี้ เป็นกลุ่มอาการที่เฉพาะเจาะจงเรื่องอาชีพ (Occupation) ซึ่งเราจะได้ยินว่ามีคนเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพภาพกาย และจิตใจของคนทำงานเอง และส่งผลต่อประสิทธิภาพงาน รวมถึงการเติบโตขององค์กรด้วย.Gallup (2018) ได้สำรวจจาก 15 องค์กรที่มีคนเกิดภาวะ Burnout มากที่สุด ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง.1. ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม (Unfair) เช่น หัวหน้าลำเอียง สองมาตรฐาน การได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งทำให้ไม่ไว้วางใจหัวหน้ารวมถึงเพื่อนร่วมงานด้วย 2. ภาระงานมากเกินไป (Workload) ทำให้รู้สึกท่วมท้น และสิ้นหวังเมื่อจัดการงานไม่ได้ เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ คนทำงานก็คาดหวังว่าหัวหน้าจะเป็นกระบอกเสียงเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมได้ 3. หน้าที่ไม่ชัดเจน (Role Clarity) ในบางครั้งคนทำงานอาจจะไม่ได้รับความชัดเจนถึงของเขตหน้าที่ ความคาดหวัง รวมถึงเป้าหมายที่องค์กรต้องการทำให้ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร เพื่ออะไร หัวหน้าจึงควรพูดคุยถึง เป้าหมาย ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบให้ รวมถึงความคาดหวังที่ต้องการให้ชัดเจน 4. ไม่ได้รับการสื่อสารและสนับสนุนจากหัวหน้า ในหลายองค์กรที่หัวหน้าคอยรับฟัง สื่อสารกับทีมงานเสมอ คนทำงานจะรู้สึกอุ่นใจ แต่ในทางตรงข้ามหลายครั้งที่หัวหน้าไม่มีเวลา สื่อสารกับทีมงาน ก็จะทำให้เมื่อทีมงานเผชิญปัญหาก็รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการสนับสนุน 5. […]
Psychological Safety . ในยุคที่มีการแข่งขันในทางธุรกิจ แต่ละคนต้องรับผิดชอบหน้าที่มากมาย และแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้.แต่เราเคยสังเกตมั้ยคะว่า แต่ละงานที่สำเร็จลุล่วงไปได้นั้น เกิดจากการ “แก้ขัด” หรือ“แก้ไข” หรือการปรับปรุงระบบการทำงานอย่างจริงจัง.ตัวอย่างการใช้วิธีแก้ขัด สำหรับปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์การทำงาน เช่น โรงพยาบาลมีผ้าปูเตียงของบางแผนกไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่อาจแก้ขัด ด้วยการไปยืมแผนกอื่นมาก่อน ซึ่งทำให้แก้ปัญหาหน้างานได้ แต่ก็อาจจะสร้างปัญหาความขาดแคลนให้แผนกที่ยืมมาเช่นกัน.การแก้ขัด อาจส่งผลดีในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ก็อาจทำให้ขัดขวางการปรับปรุงกระบวนการทำงานในระยะยาว ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการทำงานนั้นจะต้องอาศัย “ความปลอดภัยทางใจ”หรือความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา (Psychological Safety) ที่มากพอ.การแก้ขัด มักเกิดขึ้นเมื่อคนทำงาน เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ที่จะแสดงความคิดเห็น เสนอแนะให้ปรับปรุงระบบ เพราะอาจจะกลัวขัดแย้ง เสียความสัมพันธ์ หรือกังวลว่าผู้นำจะมองตนในแง่ลบจึงเลือกที่จะเงียบและค่อยๆ แก้ขัด กับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างซ้ำๆ.ดังนั้น การทำงานที่มีความปลอดภัยทางใจสูงจะช่วยส่งเสริมให้คนทำงานกล้าพูดถึงข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นตอ และช่วยกัน“แก้ไข” ปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้คนสามารถคิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้.The fearless organization Psychological Safety อาจารย์ฐิตา ภัทรวรวิศิษฏ์ (อ.ปุ๊)
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า Work from home มากขึ้น ซึ่งช่วยลดเวลาเดินทาง ไม่ต้องเผื่อเวลาตื่นเช้าฝ่ารถติดมาที่ทำงาน ลดการใช้พื้นที่สำนักงาน ทำให้ประหยัดงบประมาณได้หลายส่วน แต่หลาย ๆ คนได้ให้ความเห็นว่า การ Work from home นั้นดูเหมือนจะสบาย แต่จริง ๆ แล้วเหนื่อยกว่าเดิม เพราะต้องประชุมออนไลน์ทั้งวัน อยู่บ้านเหมือนทำงานตลอดได้เวลาโดยไม่มีเวลาเลิกงานชัดเจน ขาดสมดุลในการใช้ชีวิต ทำให้เกิดอาการ Burn out จากการทำงานที่บ้านได้ การ Work from home ปัจจุบันทำได้ง่ายขึ้นมาก แม้ว่าจะไม่เจอหน้ากันแต่ก็มีเทคโนโลยีต่าง ๆ มาสนับสนุนให้คนทำงานสามารถทำงานร่วมกัน สื่อสารกัน ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้การส่งต่อข้อมูลระหว่างกันจากหลายช่องทางทำได้รวดเร็วขึ้น ทั้งจากส่งข้อความ อีเมล โทรศัพท์ Virtual Meeting หรือ App ต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งบางครั้งอาจจะมากเกินไป รับไม่ไหว ทำให้เกิดอาการล้นทะลักของข้อมูล เหมือนกับได้รับข้อมูลอย่างท่วมท้นจากสายฉีดดับเพลิงนั่นเอง (Firehose […]
สิ่งที่พนักงาน “อยากได้ยิน” จากหัวหน้า เวลาทำงาน มักจะเป็นเวลาส่วนใหญ่ที่เราใช้ในแต่ละวัน โดยเราก็อยากใช้เวลาในการทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะสร้างความสุขหรือความทุกข์ในการทำงานนั้นคือ การสื่อสารระหว่างหัวหน้างาน กับพนักงานนั่นเอง ซึ่ง Hal Urban ก็ได้ศึกษารวบรวมในสิ่งที่พนักงาน “อยากได้ยิน” จากหัวหน้างานของตนเอง ได้แก่ รับรู้การทำงานและให้รางวัลผลงานที่ดี พนักงานบางคนที่ทุ่มเททำงานหนัก แต่หัวหน้าไม่เคยพูดถึง ก็อาจจะทำให้เสียกำลังใจได้ การขอบคุณและการชื่นชมจึงมีผลต่อพนักงานมาก ถามข้อมูลความเห็นขอคำแนะนำจากพนักงาน เรื่องบางเรื่องพนักงาน จะรู้รายละเอียดดีที่สุดหากหัวหน้างานขอความคิดเห็นจากเขา ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกดี และรู้สึกมีคุณค่าต่อที่ทำงาน แสดงความสนใจในตัวพนักงาน บางครั้งการทักทาย หรือพูดคุยในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานบ้างก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นได้ ทำความคาดหวังของพนักงานให้ชัดเจนขึ้น หัวหน้างานที่รับทราบถึงความคาดหวังของพนักงานไม่ว่าจะเป็นด้านความก้าวหน้า หรือปัญหาในงานและช่วยผลักดันและแก้ไขได้ ก็จะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น อาสาช่วยเหลือ บางครั้งพนักงานก็อาจจะมีภาระมากมาย หรือมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่ทำให้ไม่สามารถทำงานสำเร็จได้ การอาสาช่วยจากหัวหน้างานจะเป็นการแสดงน้ำใจ และแสดงออกถึง Teamwork ที่ดี เรียกชื่อของพนักงาน ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การที่หัวหน้างานเรียกชื่อพนักงาน แทนที่จะเรียกว่า คุณ, เธอ, น้องก็ทำให้พนักงานรู้สึกว่ามีคุณค่า เป็นคนสำคัญที่หัวหน้างานจดจำได้ และได้รับเกียรติ ให้กำลังใจแสดงความมั่นใจ พนักงานอาจไม่มั่นใจที่จะทำอะไรบางอย่าง การให้กำลังใจและแสดงความมั่นใจจากหัวหน้าก็ช่วยทำสร้างขวัญและกำลังใจให้ได้ไม่น้อยทีเดียว วิจารณ์อย่างอ่อนโยนสร้างสรรค์เป็นส่วนตัว เมื่อพนักงานทำผิดพลาด การที่ได้รับการ […]