คนทำงานในยุคนี้คงคุ้นเคยกับคำว่า Burnout หรือหมดไฟในการทำงาน ซึ่งในปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าภาวะนี้ เป็นกลุ่มอาการที่เฉพาะเจาะจงเรื่องอาชีพ (Occupation) ซึ่งเราจะได้ยินว่ามีคนเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพภาพกาย และจิตใจของคนทำงานเอง และส่งผลต่อประสิทธิภาพงาน รวมถึงการเติบโตขององค์กรด้วย.Gallup (2018) ได้สำรวจจาก 15 องค์กรที่มีคนเกิดภาวะ Burnout มากที่สุด ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง.1. ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม (Unfair) เช่น หัวหน้าลำเอียง สองมาตรฐาน การได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งทำให้ไม่ไว้วางใจหัวหน้ารวมถึงเพื่อนร่วมงานด้วย 2. ภาระงานมากเกินไป (Workload) ทำให้รู้สึกท่วมท้น และสิ้นหวังเมื่อจัดการงานไม่ได้ เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ คนทำงานก็คาดหวังว่าหัวหน้าจะเป็นกระบอกเสียงเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมได้ 3. หน้าที่ไม่ชัดเจน (Role Clarity) ในบางครั้งคนทำงานอาจจะไม่ได้รับความชัดเจนถึงของเขตหน้าที่ ความคาดหวัง รวมถึงเป้าหมายที่องค์กรต้องการทำให้ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร เพื่ออะไร หัวหน้าจึงควรพูดคุยถึง เป้าหมาย ขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบให้ รวมถึงความคาดหวังที่ต้องการให้ชัดเจน 4. ไม่ได้รับการสื่อสารและสนับสนุนจากหัวหน้า ในหลายองค์กรที่หัวหน้าคอยรับฟัง สื่อสารกับทีมงานเสมอ คนทำงานจะรู้สึกอุ่นใจ แต่ในทางตรงข้ามหลายครั้งที่หัวหน้าไม่มีเวลา สื่อสารกับทีมงาน ก็จะทำให้เมื่อทีมงานเผชิญปัญหาก็รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการสนับสนุน 5. […]
เมื่อที่เราพบเจอกับสถานการณ์ที่ยากลำบากอยู่ในอารมณ์ที่ท่วมท้น อาจจะมีความกังวลความเคร่งเครียดหรือรู้สึกเจ็บปวดกับสิ่งที่เผชิญอยู่.Michelle McDonald ได้แนะนำให้เราดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการฝึก RAIN Meditation ที่จะทำให้เรามีสติ สามารถโอบรับความเปราะบาง เผชิญกับความคิดเชิงลบที่ผ่านเข้ามา และมีเมตตาต่อตัวเอง ได้ดังนี้. R – Recognition การรับรู้ เมื่อที่เราเผชิญอารมณ์ความรู้สึกที่เข้มข้น สิ่งแรกที่ทำได้คือ การหยุด และรับรู้สิ่งรอบตัวเราในปัจจุบันรับรู้ร่างกายว่ามีความเคร่งตึงส่วนไหน รับรู้ความคิดที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึก ณ ตอนนี้ และสามารถเรียกชื่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้ตัวเราได้รับรู้. A – Accept,Allow ยอมรับ อนุญาตขั้นต่อมาคือการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราโดยไม่ปฏิเสธ เก็บกด หรือตัดสินว่าดีหรือไม่ โดยยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นจริง และอนุญาตให้ตัวเองรู้สึกอย่างนั้นได้ โดยเข้าใจว่าความคิด อารมณ์ ความรู้สึกนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นณ ตอนนี้ (reality) ไม่ใช่สิ่งที่ถาวร การยอมรับจะทำให้เราเริ่มมองเห็นทางเลือกที่มากขึ้น. I – Investigate สืบค้น ขั้นตอนนี้เราจะสืบค้นถึงสาเหตุของ ความคิดอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น อย่างสนใจใครรู้ (curiosity)เราอาจตั้งคำถามถามตังเองว่า – อารมณ์ความรู้สึกนี้ เกิดขึ้นเมื่อไหร่– อะไรที่เป็นสิ่งกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกนี้– ที่เรารู้สึกอย่างนี้เพราะความเชื่อ (belief) อะไร– สิ่งนี้ส่งผลอะไรกับเรา– เรามีความต้องการอะไรที่ยังไม่ได้รับ ในขั้นนี้เราจะเข้าใจตัวเองมากขึ้นที่ที่มาที่ไป ความเชื่อมโยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น […]